วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Proposal งานวิจัยในชั้นเรียน

แบบเสนอโครงร่างการวิจัย (Research Proposal)

1. ชื่อโครงการวิจัย
          การพัฒนาผลการเรียนรู้รายวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นเรื่องวิกฤติต้มยำกุ้งโดยใช้การจัดการเรียนรู้ KWL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom สำหรับนิสิตชั้นปีที่1

2. ชื่อผู้วิจัย
นางสาวอังคณา  ธนานุภาพพันธุ์

 3. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย
         
          กระทรวงศึกษาธิการได้เห็นความสำคัญของการศึกษา จึงได้ประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 เรื่อง กำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (TQF) เพื่อกำหนดมาตรฐานการอุดมศึกษา ในด้านมาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต ให้บัณฑิตมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตน สามารถเรียนรู้ สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง สามารถปฏิบัติงานและสร้างงานเพื่อพัฒนาสังคมให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่งกำหนดให้ต้องแสดงไว้ในมคอ.ด้วย
ตลอดจนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ความสำคัญต่อบัณฑิต  โดยได้นำมาเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย  ในยุทธศาสตร์ที่ การเสริมสร้างวิชาการให้เข้มแข็ง ทันสมัย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต  โดยมีกลยุทธ์ที่ 3 ให้เน้นพัฒนาศักยภาพและทักษะของนิสิต เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นพลเมืองโลก โดยมุ่งส่งเสริมพัฒนานิสิตในด้านวิชาการ  ความเป็นมืออาชีพ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถปฏิบัติงานได้ในระดับสากลได้  
การจัดการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้มากกว่าการนั่งฟังการบรรยายหน้าชั้นเรียนของครูผู้สอนแต่เพียงอย่างเดียว โดยส่งเสริมให้ผู้เรียน สร้างความรู้ด้วยตนเอง (construction) ด้วยการใช้กระบวนการเรียนรู้ (learning process) การมีส่วนร่วม (participation) อย่างตื่นตัว (active) และมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) ร่วมมือ ร่วมใจ (co-operation) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (share and learning) อย่างเช่นให้นิสิตได้ศึกษาหาข้อมูลนอกชั้นเรียนเพิ่มเติม ผ่านระบบสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ตด้วยตนเอง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา สามารถเรียนรู้และเข้าใจบทเรียนในชั้นเรียนได้ดียิ่งขึ้น
จากการสังเกตของผู้สอนในภาคการศึกษา พ.ศ.2556 วิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ที่ผ่านมาพบว่านิสิตส่วนใหญ่เรียนรู้เรื่องปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ในห้องเรียนตามบทเรียนที่สอนหน้าชั้นเรียนเท่านั้น แต่ยังขาดความรู้ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะเรื่องที่นิสิตควรให้ความสำคัญ ได้แก่ ปัญหาวิกฤติต้มยำกุ้ง
การที่จะพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตมีเทคนิคและแนวคิดมากมาย  แต่สำหรับการศึกษาความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจต้องการเวลา ให้นิสิตสามารถทำความเข้าใจด้วยตนเอง ในเรื่องที่จะเรียนในชั้นเรียนได้มากยิ่งขึ้น  ดังนั้นแนวคิดที่เหมาะสม ได้แก่ แนวคิดแบบ ห้องเรียนกลับด้าน" หรือ "Flipped Classroom" เป็นแนวคิดสำหรับจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้นจากประสบการณ์การสอนในชั้นเรียนของ Jonathan Bergmann และ Aaron Sams ครูวิชาเคมีของโรงเรียน Woodland Park High School รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เขียนหนังสือที่ชื่อ Flip Your Classroom : Reach Every Student in Every Class Every Day ขึ้น มีแนวคิดที่ให้นิสิตเรียนรู้ที่บ้านแต่ทำการบ้านที่โรงเรียน(รุ่งนภา นุตราวงศ์ ,2556)
          จากความต้องการให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม (participation) อย่างตื่นตัว (active) และมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) ร่วมมือ ร่วมใจ (co-operation) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (share and learning) ผู้วิจัยจึงได้ผสมผสานเทคนิค แบบ K-W-L ร่วมด้วย โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านตาราง 3 ช่อง K-W-L (What I already know/ what I want to know/ what I have learned) ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงประสบการณ์ เดิมกับประสบการณ์ใหม่อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ  ที่พัฒนาขึ้นโดย Dr. Oga I Koroleva ในปี ค.ศ. 1986 ซึ่งจัดว่าเป็นเทคนิคการเรียนรู้อีกแบบหนึ่งที่เสริมสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเป็นอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดความคงทนทางการเรียนที่ยาวนานมากกว่าการเรียนการสอนแบบปกติ ที่มีผู้สอนเป็นผู้นำในชั้นเรียน รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ใช้ได้ผลดี สามารถใช้ได้ทั้งผู้เรียนรายบุคคลหรือผู้เรียนเป็นกลุ่ม ทั้งกลุ่มเล็ก ๆ และกลุ่มใหญ่ (มยุรี  อรรฆยมาศ ,2557)
ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลการเรียนรู้รายวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นเรื่องวิกฤติต้มยำกุ้งโดยใช้การจัดการเรียนรู้ KWL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom และได้นำแผนการพัฒนาการเรียนการสอนไปไว้ใน มคอ.3 ที่เกี่ยวกับรายละเอียดของรายวิชา หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล  เพื่อให้นิสิตได้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ครอบคลุมบทเรียนมากยิ่งขึ้น
         
4. กรอบแนวคิดทางทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยหรือกรอบความคิดที่ใช้ในการวิจัย


เทคนิค KWL ร่วมกับแนวคิด flipped classroom
 

ผลการเรียนรู้
 

ความพึงพอใจ

 
 










5. แบบแผนการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง(Experiment research) แบบแผนการวิจัยเป็นแบบ One Shot Case Study (หนึ่งกลุ่มสอบหลัง)

ทดลองใช้นวัตกรรม
ทดสอบผลการเรียนรู้
X
T2
โดยผู้วิจัยจะเลือกกลุ่มทดลอง และเมื่อทดลองใช้นวัตกรรมเรียบร้อยแล้ว  จึงทดสอบผลการเรียนรู้

6. คำถามการวิจัย
6.1 หลังการใช้เทคนิคแบบ KWL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom จะทำให้ผลการเรียนรู้ของนิสิตสูงขึ้นจริงหรือไม่     
6.2 หลังการใช้เทคนิคแบบ KWL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom จะทำให้นิสิตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับใด

7. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
        7.1 เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนิสิตหลังจากการใช้เทคนิคแบบ KWL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom        
7.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการใช้เทคนิคแบบ KWL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom

8. สมมติฐานการวิจัย
8.1 หลังการใช้เทคนิคแบบ KWL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom จะทำให้ผลการเรียนรู้ของนิสิตเป็นไปตามเกณฑ์
8.2 หลังการใช้เทคนิคแบบ KWL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom จะทำให้นิสิตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีขึ้นไป

9. ขอบเขตของการวิจัย
9.1 ประชากร
          นิสิตสาขารัฐศาสตร์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน  จำนวน 60 คน 
9.2 ระยะเวลาดำเนินการ
          ภาคการศึกษาที่1 ปีการศึกษา 2557
9.3 ตัวแปรที่ศึกษา
                ตัวแปรต้น   ได้แก่ เทคนิค KWL ร่วมกับแนวคิด flipped classroom
          ตัวแปรตาม  ได้แก่  ผลการเรียนรู้  ความพึงพอใจ
9.4  เนื้อหาที่ใช้ในงานวิจัย
          รายวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น  เรื่องวิกฤติต้มยำกุ้ง

10. นิยามศัพท์เฉพาะ
           ห้องเรียนกลับด้าน หมายถึง สิ่งที่เคยเป็นกิจกรรมในชั้นเรียน เช่นการจดบันทึก (lecture) จะถูกทำที่บ้านผ่านทางวิดีโอที่ครูกับนิสิตช่วยกันจัดเตรียมขึ้น และนำความรู้ที่ได้จากที่บ้านมาทำกิจกรรมร่วมกันในชั้นเรียน
          การจัดการเรียนรู้ KWL หมายถึง เทคนิคการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย Know คือ นิสิตรู้อะไรบ้าง , Want to know คือ นิสิตต้องการรู้อะไร ,Learned คือ หลังจากนิสิตได้รับการสอนจากผู้สอนแล้วนิสิตเกิดการเรียนรู้อะไร
การจัดการเรียนรู้ KWL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom  หมายถึง การนำเทคนิค KWL มาใช้ร่วมกับแนวคิด ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) 
ผลการเรียนรู้ (learning outcome )หมายถึง ความรู้ความเข้าใจในสาระต่างๆ ความสามารถในการกระทำ การใช้ทักษะกระบวนการต่างๆ       รวมทั้งความรู้สึกหรือเจตคติอันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้
ความพึงพอใจ (Satisfaction) หมายถึง  ความรู้สึกของบุคคลในทางบวก ความชอบ ความสบายใจ ความสุขใจต่อสภาพแวดล้อมในด้านต่าง ๆ หรือเป็นความรู้สึกที่พอใจต่อสิ่งที่ทำให้เกิดความชอบ ความสบายใจ และเป็นความรู้สึกที่บรรลุถึงความต้องการ
นิสิต  หมายถึง  นิสิตชั้นปีที่1 สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพง

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
          ทำให้นิสิตมีความเข้าใจในปัญหาเศรษฐกิจเรื่องวิกฤติต้มยำกุ้งได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

12. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

12.1 การจัดการเรียนการสอนแบบกลับด้านชั้นเรียน (The Flipped Classroom)

รุ่งนภา นุตราวงศ์ (2556) ได้กล่าวถึงห้องเรียนกลับด้านว่า มีจุดเริ่มต้นในปี ค.ศ. 2007 เมื่อครูระดับมัธยมศึกษาสอนวิชาเคมี 2 คน คือ Jonathan Bergmann และ Aron Sams พยายามหาแนวทางในการช่วยนักเรียนซึ่งมีความจำเป็นต้องขาดเรียนบ่อยครั้ง เนื่องจากต้องเข้าแข่งขันกีฬา หรือร่วมกิจกรรมต่างๆ จนทำให้เรียนไม่ทันเพื่อน โดยแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เกิดจากข้อสังเกต 2 ประการ ดังนี้
          1. เวลาที่นักเรียนต้องการพบครูจริงๆ คือ เวลาที่เขาติดขัด หรือมีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ เขาไม่ได้ต้องการอยู่กับครูในชั้นเรียนตลอดเวลา เพื่อให้ครูคอยบอกเนื้อหาแก่เขา ซึ่งเขาสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้
          2. ถ้าครูบันทึกวิดีโอการสอน และให้นักเรียนดูวิดีโอเหล่านั้นเป็นการบ้าน แล้วใช้เวลาในชั่วโมงเรียนสำหรับชี้แนะ ช่วยเหลือนักเรียนให้เข้าใจแก่นแท้ของเนื้อหา หรือความรู้ที่สำคัญ
          จากข้อสังเกตและความต้องการที่จะช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าของสื่อเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน รวมถึงเว็บไซต์ Youtube อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จึงนำไปสู่แนวคิดการปรับการเรียนการสอนแบบกลับด้านชั้นเรียน

ลักษณะสำคัญของการกลับด้านชั้นเรียน
1. การปรับรูปแบบการเรียนการสอน จากเดิมสิ่งที่ทำในชั้นเรียนเอาไปทำที่บ้าน และสิ่งที่มอบหมายไปทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียน กล่าวคือ ในการเรียนการสอนรูปแบบเดิมนั้น ครูเป็นผู้บรรยายเนื้อหาต่างๆ ในชั้นเรียน แล้วมอบหมายงานให้นักเรียนนำกลับไปทำเป็นการบ้าน ในขณะที่ทำการบ้านนั้นนักเรียนอาจจะมีข้อสงสัย ไม่เข้าใจ แต่ไม่มีคนตอบข้อสงสัย หรือคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ จึงไม่สามารถทำการบ้านได้ ในการกลับด้านชั้นเรียนนั้น การบรรยายของครูจะถูกบันทึกเป็นวิดีโอเพื่อให้นักเรียนได้นำไปดูล่วงหน้าที่บ้านตอนกลางคืน เมื่อมาเข้าชั้นเรียนในวันรุ่งขึ้นนักเรียนจะซักถามประเด็นข้อสงสัยต่างๆ จากการดูวิดีโอ จากนั้นก็จะทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม โดยมีครูคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ และตอบข้อสงสัยในระหว่างทำงานนั้น
          2. การปรับจุดเน้นความสำคัญของการเรียนการสอน เป็นการกลับมุมมองจากการให้บทบาทและความสำคัญที่ครูผู้สอนไปให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การปรับรูปแบบการเรียนการสอนนี้จะทำให้บทบาทและความสำคัญในชั้นเรียนเปลี่ยนไปจากครูและการบรรยายของครูเป็นการเรียนรู้ของนักเรียน โดยมีครูเป็นผู้คอยช่วยเหลือ แนะนำให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมและการทำงานต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ


การใช้เวลาในชั้นเรียน

ตารางเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในชั้นเรียน ระหว่างการเรียนแบบเดิมกับการเรียนแบบกลับด้านชั้นเรียน
การเรียนการสอนแบบเดิม
กลับด้านชั้นเรียน
กิจกรรม
เวลา
กิจกรรม
เวลา
การนำเข้าสู่บทเรียน (Warm-up)
นาที
การนำเข้าสู่บทเรียน (Warm-up)
นาที
ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการบ้านที่นักเรียนได้รับมอบหมาย
20 นาที
ถาม-ตอบ เกี่ยวกับวิดีโอที่นักเรียนไปดู
10 นาที
บรรยายเนื้อหาใหม่
30-45 นาที
ช่วยเหลือนักเรียนทำงาน/กิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ
75 นาที
ช่วยเหลือนักเรียนทำงาน/กิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ
20-35 นาที
-

สื่อการเรียนการสอน
               สื่อการเรียนการสอนที่สำคัญที่ใช้ในการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน คือ การบันทึกวิดีโอการบรรยายของครู ซึ่งครูผู้สอนจะจัดทำเองหรือใช้วิดีโอของผู้อื่นที่ทำไว้แล้ว

 โอกาสในการเข้าถึงสื่อของนักเรียน
               สิ่งที่ต้องคำนึงถึงการเรียนการสอนแบบกลับด้านชั้นเรียน คือ ผู้เรียนต้องมีโอกาสอย่างสม่ำเสมอและเท่าเทียมกันในการดูวิดีโอ โจนาธานและแอรอน ได้จัดเตรียมวิดีโอไว้ในหลายๆ ลักษณะ เพื่อให้นักเรียนมีทางเลือก เช่น  ใส่ไว้บนเว็บไซต์ Server ของโรงเรียน นักเรียนนำ Flash Drive มาบันทึกข้อมูลไปดูกับเครื่องเล่นหรือคอมพิวเตอร์  แผ่น VDO

 การตรวจสอบการดูวิดีโอของนักเรียน
            1.จดโน้ต : จดบนกระดาษ  โพสต์ข้อความในบล็อก หรือ ส่งอีเมลล์
            2.ตั้งคำถาม : เป็นคำถามที่สงสัยจากการดูวิดีโอ เพื่อมาถามครูในชั้นเรียน

การกลับด้านชั้นเรียนตามศักยภาพของผู้เรียน (Flipped Mastery Classroom)
               การกลับด้านชั้นเรียนในระยะเริ่มแรกนั้น แม้จะมีความยืดหยุ่น และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากกว่าการเรียนการสอนรูปแบบเดิม แต่ก็ยังมีลักษณะการให้ผู้เรียนทุกคนเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ตามที่หลักสูตรกำหนด ไม่ว่าผู้เรียนนั้นจะมีความพร้อมหรือไม่ กล่าวคือทุกคนได้รับมอบหมายให้ดูวิดีโอเรื่องเดียวกัน ในคืนเดียวกัน เมื่อมาถึงชั้นเรียนในวันรุ่งขึ้น จะต้องทำกิจกรรมแบบเดียวกัน ปฏิบัติการทดลองเหมือนกัน เมื่อถึงเวลาสอบทุกคนเข้าสอบวัน เวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้ผู้เรียนจำนวนไม่น้อยที่เกิดปัญหาในการเรียนรู้
               ด้วยเหตุดังกล่าว จึงได้มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบกลับด้านชั้นเรียนตามศักยภาพของผู้เรียน ซึ่งนักเรียนสามรถดูวิดีโอเรื่องต่างๆ ตามช่วงเวลาหรือลำดับที่เป็นไปตามศักยภาพของตนเอง แต่ละคนอยู่ในจุดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป ไม่จำเป็นต้องไปถึงสิ่งที่หลักสูตรกำหนดพร้อมๆ กัน กิจกรรมในชั้นเรียนจึงไม่จัดไว้เป็นลำดับที่ตายตัว นักเรียนทำกิจกรรมที่หลากหลาย ช้าเร็วแตกต่างกันออกไป โดยใช้สื่อนานาชนิดในการเรียนรู้ บางคนทำการทดลอง บางคนสืบค้นข้อมูล บางคนค้นคว้าออนไลน์ บางคนทำงานเป็นกลุ่มเล็กๆ บางคนทำงานตามลำพัง ครูจะคอยดูแลช่วยเหลือ แต่จะไม่เป็นผู้ควบคุมกระบวนการเรียนรู้ นักเรียนต้องรับผิดชอบในการเรียนรู้เป็นของตนเอง ทั้งนี้ครูผู้สอนต้องศึกษาและมีความเข้าใจองค์ประกอบของการกลับด้านชั้นเรียนตามศักยภาพ ดังนี้
               1.กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน
               2. พิจารณาว่าจุดประสงค์ใดผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ค้นคว้าหาคำตอบ (Inquiry) ด้วยตนเองได้ และจุดประสงค์ได้ที่ครูต้องสอนโดยตรง (Direct instruction)
               3.ต้องแน่ใจว่านักเรียนเข้าถึงวิดีโอ หรือสื่อ
               4.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมในชั้นเรียน
               5.จัดทำแบบทดสอบหลายๆ ชุด หลายลักษณะ เพื่อประเมินผู้เรียน

การวัดผลและประเมินผล
               การวัดผลและประเมินผลภายใต้รูปแบบกลับด้านชั้นเรียนนั้น มีทั้งการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative assessment) เพื่อพัฒนาและสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียน และการประเมินผลรวบยอด (Summative assessment) เพื่อตัดสินว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่เป็นเป้าหมายหรือไม่
               1.วัดผลและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
               2.วัดผลและประเมินผลซ้ำได้
               3. ใช้เทคโนโลยีช่วยในการวัดผลและประเมินผล
               4.ใช้ผลการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

ข้อดีของการกลับด้านชั้นเรียน
               1. เหมาะสมกับผู้เรียนยุคปัจจุบัน
               นักเรียนในยุคนี้เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี Internet Facebook Youtube และแหล่งสืบค้นข้อมูลต่างๆ มากมาย จึงมีความคุ้นเคยและมีทักษะในการใช้สื่อเหล่านี้อย่างดี ดังนั้นควรใช้เทคโนโลยีนี้มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
               2.ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
               นักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการดูวิดีโอ ตั้งประเด็นคำถาม และร่วมกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย ครูเพียงแต่คอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียน
               3.มีความยืดหยุ่น ช่วยนักเรียนที่มีภาระงานมาก
               นักเรียนบางคนมีภาระที่ต้องทำหลายอย่าง บางคนเรียนหนัก บางคนเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมต่างๆ วิธีการกลับด้านชั้นเรียนมีความยืดหยุ่น โดยเนื้อหาความรู้หลักๆ จะเรียนรู้ผ่านวิดีโอออนไลน์ ซึ่งสามารถเรียนล่วงหน้าหรือย้อนหลังได้
               4.ช่วยการเรียนรู้ของเด็กที่เรียนไม่เก่ง
               ในการเรียนการสอนแบบเดิมๆ นั้น ครูมักสนใจแต่เด็กเก่งและฉลาด ซึ่งมักจะยกมือถามหรือตอบคำถามในชั้นเรียน นักเรียนที่เหลือก็จะนั่งเฉยๆ แต่ในการกลับด้านชั้นเรียน ครูจะเดินดูรอบๆ ห้องเรียน เพื่อช่วยนักเรียนที่มีปัญหา และเด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะตั้งคำถามในชั้นเรียนมากขึ้น
               5. ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนมีมากขึ้น
               ครูใช้เวลาพูดคุยกับนักเรียน ตอบคำถาม ร่วมทำงานกับกลุ่มย่อยและสนใจนักเรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น ในขณะที่นักเรียนก็ร่วมทำงานไปด้วย หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และช่วยเหลือกันในการเรียนรู้มากขึ้น
               6.เป็นการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
               นักเรียนแต่ละชั้นเรียนมีความแตกต่าง หลากหลาย มีทั้งเด็กเก่ง เด็กปานกลาง และเด็กอ่อน การจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียนทำให้ครูสามารถช่วยเหลือเด็กนักเรียนได้สอดคล้องกับความแตกต่างเป็นรายบุคคล 
               7.ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้น
               เนื่องจากการจัดการเรียนรู้นั้นเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีครูคอยแนะนำช่วยเหลือ การเรียนการสอนเป็นรายบุคคล รวมทั้งการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย ยืดหยุ่น สอดคล้องกับความถนัดและศักยภาพของนักเรียน จึงช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น
               8.ช่วยแก้ปัญหาเมื่อครูขาดสอน
               ในกรณีที่ครูมีความจำเป็นไม่สามารถเข้าสอนได้ตามปกติ ครูสามารถบันทึกวิดีโอการสอนไว้ล่วงหน้าสำหรับให้นักเรียนเรียนรู้ หรือสำหรับครูที่สอนแทนใช้ได้ สามารถช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามตารางอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องคอยมาสอนซ้ำภายหลัง

สรุป
               การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน คือ เรียนเนื้อหาที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน
               

          12.2 การจัดการเรียนรู้ KWL

มยุรี  อรรฆยมาศ (2557) และ ทิศนา แขมมณี (2548) ได้กล่าวถึงเทคนิคการเรียนรู้แบบ K-W-L ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นรู้ = K (Know) ผู้สอนจะต้องตั้งประเด็นผู้สอนจะตั้งประเด็น (หรือหัวข้อบทเรียน) ให้ผู้เรียนทุกคนทราบ หลังจากนั้นจึงปล่อยให้ผู้เรียนแต่ละคนได้คิด และให้ผู้เรียนแต่ละคน (หรือแต่ละกลุ่ม) ได้เขียนสาระต่าง ๆ ที่ผู้เรียนมีความรู้อยู่แล้วเกี่ยวกับประเด็นที่ผู้สอนตั้งไว้ในกระดาษที่ผู้สอนแจกให้
2.ขั้นต้องการเรียน = W (Want)หลังจากที่ผู้เรียนบันทึกสาระต่าง ๆ ที่ตนเองมีความรู้อยู่แล้วเกี่ยวกับประเด็น (หรือหัวข้อบทเรียน) ที่ผู้สอนตั้งไว้แล้ว ผู้สอนจะให้ผู้เรียนบันทึกถึงความต้องการที่เกี่ยวกับสาระหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะบันทึกเป็นหัวข้อ ย่อย ๆ ก็ได้ ถ้าเป็นกิจกรรมกลุ่ม สามารถให้กลุ่มช่วยกันคิดว่า ต้องการเรียนรู้สิ่งใดเพิ่มเติม ในหัวข้อที่ผู้สอนกำหนดไว้หลังจากนั้น  จะมีการจัดการเรียนรู้ตามปกติ ซึ่งอาจให้ผู้สอนเป็นผู้นำชั้นเรียน หรือปล่อยให้ผู้เรียนศึกษาบทเรียนแต่เพียงลำพังจากสื่อ  ต่าง ๆ ที่ผู้สอนจัดไว้ให้ หรืออาจจะให้ผู้เรียนออกไปค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับหัวข้อย่อย ๆ ที่ผู้เรียนบันทึกไว้ในกระดาษช่อง W
3. ขั้นเรียนรู้แล้ว = L (Learned) ในขั้นสุดท้ายนี้ จะให้ผู้เรียนบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้แล้วจากขั้นตอนที่ผ่านมา ลงในกระดาษช่องทางขวามือที่เหลือ และให้ผู้เรียนช่วยกันสรุปว่า สิ่งที่ผู้เรียนรู้แล้ว (K) สิ่งที่ผู้เรียนต้องการเรียน (W) และสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้แล้ว (L) มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร และสรุปผลความรู้ที่ได้
            นอกจากนี้ แนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านโมเดล K-W-L ยังเตรียมความพร้อมและส่งเสริมผู้เรียนในเรื่องการเรียนรู้เป็นรายบุคคล รวมทั้งการส่งเสริมแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) อีกด้วย โมเดล K-W-L เอื้อประโยชน์หลายอย่างต่อผู้เรียน เช่น
- เป็นเครื่องมือนำทางที่เป็นรูปธรรมในการค้นคว้าหาความรู้ของผู้เรียน
- ช่วยระบุแหล่งที่มาของข้อมูล หรือแหล่งเรียนรู้ที่ชัดเจน
- สามารถทำการตรวจสอบความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของข้อมูลได้ง่ายหลังจากเมื่อทราบแหล่งข้อมูล
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
- ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ให้พร้อมในระดับที่สูงขึ้น 
วัตถุประสงค์หลักของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านโมเดล K-W-L คือ
1. เป็นการกระตุ้นความอยากใคร่ใฝ่รู้ในสิ่งที่ผู้เรียนสนใจจริงๆ กระตุ้นให้ค้นคว้าหาคำตอบในเรื่องที่ตนเองสนใจ
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนตัดสินใจ ตกลงใจ และตระหนักในสิ่งที่อยากจะเรียนรู้หรือสนใจจริงๆ และพัฒนาจนกลายเป็นข้อคำถามและความสงสัยส่วนตัว ซึ่งจะกลายเป็นวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้เรื่องนั้นต่อไป
3. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียน ความเข้าใจในบทเรียนได้ตลอดเวลา
4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดนอกกรอบ ไม่ยึดติดกับการค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือแบบเรียนเพียงอย่างเดียว       
            การจัดการเรียนการสอน K-W-L ยังช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆของผู้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้ เช่น การเขียนสื่อความ แปลความสรุปความ ความสวยงามของภาษา เป็นต้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้เรียนทุกระดับชั้น ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม โมเดล K-W-L กระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ความก้าวหน้าทางการเรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม รวมถึงกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของข้อมูล/ประสบการณ์เดิมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการต่อยอดสร้างองค์ความรู้ใหม่รู้ผ่านโมเดล K-W-L
การประยุกต์ใช้แนวคิดโมเดล K-W-L
โดยหลักการแล้ว การนำแนวคิดโมเดล K-W-L ไปประยุกต์ใช้สามารถทำได้ ดังนี้
1. ระดมสมองผู้เรียนและรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเกี่ยวกับหัวข้อของบทเรียน (“K” หรือ “What I AlreadyKnew” คอลัมน์)
2. กระตุ้นผู้เรียน อภิปรายในสิ่งที่ผู้เรียนอยากจะเรียนรู้เพิ่มเติม (“W” หรือ “What I Want to Know” คอลัมน์)
3. วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ (“W” หรือ “What I Want to Know” คอลัมน์)
- วางเป้าหมาย
- กำหนดแหล่งที่มาของข้อมูล/แหล่งข้อมูล
- วางแผนวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
- ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล
4. ประมวลข้อมูล สรุปผลตรวจสอบ เนื้อหา (“W” หรือ “What I Want to Know” คอลัมน์)
5. สะท้อนการเรียนรู้ ระบุสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ (“L” หรือ “What I Have Learned” คอลัมน์)
การจัดกิจกรรมผ่านแนวคิดโมเดล K-W-L สามารถจัดภายในระยะเวลาที่หลากหลาย บางครั้งอาจจะจัดเพียง หนึ่งคาบ หนึ่งสัปดาห์ สามสัปดาห์ หรือหนึ่งเดือน ขึ้นอยู่กับความลึกและปริมาณเนื้อหาที่ผู้เรียนสนใจการจัดเก็บข้อมูลควรให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ชัดเจน ดูแล้วเข้าใจง่ายการเรียนรู้ผ่านแนวคิดโมเดล K-W-L จำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักยอมรับและเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ภายใต้บรรยากาศของการเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ใน “K” หรือ “What I Already Knew” คอลัมน์ หากข้อมูลจากประสบการณ์เดิมที่ผู้เรียนระดมสมองหรือนำเสนอมามีเนื้อหาไม่ถูกต้อง ครูยังคงต้องเขียนลงในตาราง ทั้งนี้เพื่อจะนำสิ่งเหล่านี้เป็นจุดตั้งต้นในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงใน “W” หรือ “What I Want to Know”ระหว่างดำเนินกิจกรรม เป็นหน้าที่ของครูที่จะคอยกระตุ้นผู้เรียนสังเกตและเก็บข้อมูล รายละเอียดต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสรุปบทเรียนและติดตามความก้าวหน้าของการสร้างองค์ความรู้   




12.3 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ

นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ดังต่อไปนี้ คำว่า “ความพึงพอใจ” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “satisfaction” มีความหมายโดยทั่ว ๆ ไปว่า “ระดับความรู้สึกในทางบวกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ( มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช , 2538 , หน้า , 98)
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ (2541, หน้า 81) ได้กล่าวว่าความพึงพอใจ (satisfaction)หมายถึง ความรู้สึกที่ดีของบุคคลที่ได้รับการตอบสนองเมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในสิ่งที่ต้องการ และคาดหวัง ความพึงพอใจเป็นความชอบของแต่ละบุคคล ซึ่งระดับความพึงพอใจของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกัน อาจเนื่องจากพื้นฐานทางการศึกษา ทางด้านเศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อม
พิณ ทองพูน ( 2529 , หน้า , 10 อ้างใน สถาพร สุดเสนาะ , 2543, หน้า 18) ได้กล่าวว่าความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึก รัก ชอบ ยินดี เต็มใจ หรือ มีเจตคติที่ดีของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความพึงพอใจ จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับผลตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านวัตถุ และ จิตใจ
ชริณี เดชจินดา (2532, อ้างถึงใน ชวลิต ปานมาก , 2548 , หน้า 18 ) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ หรือ พอใจต่อสิ่งใด หรือปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องความรู้สึกพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการของบุคคลได้รับการตอบสนอง หรือ บรรลุจุดมุ่งหมายในระดับหนึ่ง ความรู้สึก ดังกล่าวจะลดลงหรือไม่เกิดขึ้น หากความต้องการหรือจุดมุ่งหมายนั้นไม่ได้รับการตอบสนอง
เสรี วงษ์มณฑา (2542 , หน้า 14) กล่าวว่า การสื่อสารการตลาดที่ดีจะทำให้ผู้บริโภคเกิดการรู้จัก การยอมรับ เกิดความพึงพอใจ หลังจากนั้นผู้บริโภคจะออกไปแสวงหาและสัมผัสกับตัวสินค้าเพื่อตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อ และ สรุปออกมาเป็นทัศนคติหลังจากที่ใช้แล้ว ซึ่งจะออกได้ 2แบบ คือ ทางลบ หมายถึง ผู้บริโภคเกิดความไม่พอใจ กับ ทางบวก หมายถึง ผู้บริโภคเกิดความพอใจ
กฤษณา รัตนพฤกษ์ (2542, อ้างถึงใน สมพงษ์ สุวรรณโฆษิต , 2546 ,หน้า 15) ได้กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพ (quality) และ ความพอใจ (satisfaction) ว่าทั้งสองคำนี้อาจใช้แทนกันได้ในความหมายทั่วไป แต่ในทางการตลาดแล้วมีความแตกต่างกัน ความพอใจโดยทั่วไปแล้วเป็นแนวคิดที่กว้างกว่า ในขณะที่คุณภาพของบริการเน้นเฉพาะด้านบริการ คือ เป็นการประเมินการรับรู้ของลูกค้าในมิติเฉพาะด้านของการบริการ ได้แก่ ความเชื่อถือได้ (reliability)การตอบสนองลูกค้าทันที (responsiveness) การทำให้ลูกค้ามั่นใจ (assurance) การเข้าใจลูกค้า(empathy) และการเสนอสิ่งที่เป็นรูปธรรม (tangibles) ในขณะที่ความพอใจของลูกค้าอาจจะได้รับอิทธิพลจากการรับรู้ในคุณภาพของบริการ การรับรู้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ราคา ปัจจัยส่วนบุคคลของลูกค้า (อารมณ์ ความชอบและ ปัจจัยด้านสถานการณ์ (ดินฟ้าอากาศดังนั้น การรับรู้ในคุณภาพของบริการจึงเป็นส่วนหนึ่งของความพอใจของลูกค้าหลังจากที่ได้ใช้บริการ ขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติงานของสินค้าหรือสิ่งเสนอขายโดยปกติความพอใจ คือ ความรู้สึกพึงพอใจหรือผิดหวังอันเกิดจากการเปรียบเทียบผลหรือการบริการกับความคาดหมาย จะเห็นได้ว่าจุดสำคัญ คือ การปฏิบัติงานของผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่ตอบสนองกับความคาดหมาย ถ้าการบริการไม่ถึงความคาดหมายของลูกค้า ลูกค้าจะไม่พอใจ ถ้าการบริการเท่ากับความคาดหมายของลูกค้า ลูกค้าก็จะพอใจ ถ้าการบริการสูงเกินความคาดหมาย ลูกค้าก็จะพอใจเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ลูกค้าในปัจจุบันเอาใจยากขึ้น ลูกค้ามีความจงรักภักดีในตราสินค้า และ บริการน้อยลง พร้อมเสมอในการเปลี่ยนไปใช้บริการที่อื่นหากมีสิ่งล่อใจที่เหมาะสม การสร้างความพอใจให้เกิดประจำ และ พัฒนาไปสู่ความจงรักภักดี ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น อากาศ แสงสว่าง เก้าอี้ โต๊ะ สิ่งเหล่านี้มีผลต่อความพอใจของลูกค้าอย่างมาก
จากที่กล่าวข้างต้น อาจสรุปความหมายของความพอใจได้ดังนี้ ความพอใจ หมายถึงความรู้สึกหรือทัศนคติของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยอาจจะเป็นไปในเชิงการประเมินค่าว่าความรู้สึกหรือทัศนคตินั้นเป็นไปในทางบวก หรือ ทางลบ ความรู้สึกหรือทัศนคติในทางบวก เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อมีความสุข ปราศจากความทุกข์ ได้รับการตอบสนองอย่างสมบูรณ์ครบถ้วนหรือ บรรลุจุดมุ่งหมายในระดับหนึ่งต่อสิ่งนั้น แสดงให้เห็นสภาพของความพึงพอใจในสิ่งนั้นด้วยแต่ถ้าเป็นความรู้สึกที่ปราศจากความสุข มีความทุกข์ ได้รับการตอบสนองไม่สมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่บรรลุจุดมุ่งหมายในระดับหนึ่งต่อสิ่งนั้น ก็จะมีความรู้สึกหรือทัศนคติในทางลบ แสดงให้เห็นสภาพของความไม่พึงพอใจต่อสิ่งนั้น ความพึงพอใจอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลา และสถานการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

12.4 การประเมินผลการเรียนรู้ (learning outcome )

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2553) การประเมินผลการเรียนรูตามแนวการปฏิรูปการศึกษาเนนการประเมินตามสภาพจริง มีวิธีการดังนี้
 1) สังเกตการแสดงออกเปนรายบุคคลหรือรายกลุม
 2) ชิ้นงาน ผลงาน รายงาน
 3) การสัมภาษณ
 4) บันทึกของผูเรียน
 5) การประชุมปรึกษาหารือรวมกันระหวางผูเรียนและผูสอน
 6) การวัดและประเมินผลภาคปฏิบัติ (Practical assessment)
 7) การวัดและประเมินผลดานความสามารถ (Performance assessment)
 8) การวัดและประเมินผลการเรียนรูโดยใชแฟมผลงาน (Portfolio assessment)
 9) อื่นๆ
 จะเห็นไดวาการประเมินผลการเรียนรูตามสภาพจริงตองใชวิธีการที่หลากหลาย มิไดจํากัดอยูแตเฉพาะการประเมินโดยใชแฟมผลงานเทานั้น
ซึ่งขอมูลที่นํามาใชในการประเมินตองมาจากแหลงที่หลากหลาย เชน จากผลงานการทําแบบฝกหัดหรือโครงงาน จากการสังเกต จากการสัมภาษณ จากการสอบ ในลักษณะตางๆ และจากการบันทึกของผูเรียน ผูสอน เปนตน  
ผูมีหนาที่ในการประเมินผลการเรียนรูตามแนวการปฏิรูปการศึกษา มีขอบเขตครอบคลุมตัวบุคคลกวางขวางกวาการปฏิบัติแตเดิมที่เนนใหผูสอนเปนผูประเมิน ซึ่งควรประกอบดวย ตัวผูเรียน เพื่อนของผูเรียน ผูสอน และผูเกี่ยวของอื่นๆ เชน บุคคลผูเปนภูมิปญญาทองถิ่น หรือ วิทยากรที่มีสวนเกี่ยวของหรือรับรูการปฏิบัติงานของผูเรียน เปนตน บุคคลตางๆ เหลานี้อาจมีบทบาทและความสําคัญ ในการประเมินตามสภาพจริงแตกตางกัน ทั้งนี้ขึ้นอยูกับวาบุคคลดังกลาวมีสวนเกี่ยวของกับ ผลการเรียนรูที่ประเมิน มากนอยเพียงไร ซึ่งควรพิจารณาเปนกรณีๆ ไป จากที่กลาวมาจะเห็นวาการประเมินผลการเรียนรูตามแนวการปฏิรูปการศึกษานั้นใหความสําคัญกับการประเมินตามสภาพจริงในกลุมสาระการเรียนรูที่มุงสูการพัฒนาผูเรียน ใหมีคุณลักษณ 3ดาน อยางเปนบูรณาการกัน ทั้ง ดานความรูความคิด ดานทักษะกระบวนการ และดานเจตคติ คุณธรรม จริยธรรมและคานิยม ภายใตมาตรฐานการเรียนรูที่กําหนดขึ้น ตามธรรมชาติของกลุมสาระการเรียนรูตางๆ ทําการประเมินอยาง  ตอเนื่อง ดวยวิธีการที่เขาถึงสภาพจริงของการเรียนรูโดยอาศัยผูเกี่ยวของหลายฝาย รวมทั้งตัวผูเรียนเองดวย และมุงใช ผลของการประเมินเพื่อการพัฒนาและการปรับปรุงผูเรียนเปนสําคัญ
การประเมินผลการเรียนรูตามแนวการปฏิรูปการศึกษาใหความสําคัญคอนขางมากกับการใหคะแนนแบบ รูบริค (Rubric scoring) ซึ่งมีความเปนปรนัยสูง และใชประโยชนในดานการใหขอมูล
ปอนกลับไดดี แตทั้งนี้ไมไดหมายความวาในการประเมินจะตองใชการใหคะแนนแบบรูบริคเสมอไป เนื่องจากในการประเมินบางกรณี เชน การสอบดวยขอสอบแบบปรนัย อาจตองใชการใหคะแนนแบบถูกผิดชัดเจน (ระบบ 0-1) การประเมินคุณภาพหรือคุณลักษณะบางอยางอาจใชมาตรประมาณคา (Rating scales) เปนตน วิธีการใหคะแนนแบบตางๆ มีดังนี้ 
          1. การใหคะแนนแบบไมชัดเจน (ตามใจผูประเมิน) เชน ในการตรวจใหคะแนนโครงงาน หรือเรียงความหรือชิ้นงานหรือรายงานหรือขอสอบอัตนัย ฯลฯ ถากําหนดคะแนนเต็มเปน 10 คะแนน    ผูตรวจอาจใชเกณฑในใจซึ่งเปนไปตามอคติของผูตรวจ ตัดสินใหคะแนน ตามที่เห็นสมควรเปน 0, 5, 8 คะแนน เปนตน จึงมีแนวโนมที่จะเกิดความลําเอียงไดงาย การใหคะแนนเชนนี้เปนการยากตอการแปลความหมายหรือกลาวไดวา ขาดความเปนปรนัย (Objectivity) เปนอยางยิ่ง
          2. การใหคะแนนแบบถูกผิดชัดเจน เชน ในการตรวจขอสอบแบบปรนัย เมื่อตอบถูกตามเฉลยก็ไดคะแนนเต็ม แตเมื่อตอบผิดก็ไมไดคะแนนดังที่ใชในการตรวจขอสอบแบบถูกผิด แบบจับคู หรือแบบตัวเลือก เปนตน
          3. การใหคะแนนแบบมาตรประมาณคา (Rating scales) เปนการใหคะแนน ตามชวงของความถูกตองของคําตอบ หรือการแสดงพฤติกรรม หรือคุณภาพของชิ้นงาน เชน ในมาตรประมาณคา 5 ชวง หรือ 3 ชวง ฯลฯ เมื่อตอบถูกมากที่สุดหรือแสดงพฤติกรรมบอยที่สุดหรือชิ้นงานมีคุณภาพมากที่สุดจะได 5 คะแนน หรือ 3 คะแนน ลดหลั่นลงไปตามลําดับจนถึง 1 คะแนนเมื่อตอบถูกตองนอยที่สุด หรือแสดงพฤติกรรมนอยที่สุด หรืองานมีคุณภาพนอยที่สุด เปนตน การใหคะแนนวิธีนี้มีความ เปนปรนัยมากขึ้นแตยังไมสมบูรณที่จะใหขอมูลปอนกลับ ในเชิง คุณภาพวาสวนที่บกพรองไปนั้นคืออะไร
4. การใหคะแนนแบบรูบริค (Rubric) รูบริค หรือเกณฑระดับความสามารถเปนสิ่งที่ผูสอนและผูเรียนตกลงรวมกันวาจะใชในการประเมินกิจกรรมหรืองานตางๆ ที่ผูเรียน สรางขึ้น เปนขอตกลงที่ผูเรียนรูวา นี่คือเปาหมาย หรือจุดหมายของการปฏิบัติงานนั้น รูบริค เปนวิธีการใหคะแนนที่ใชหลักการของมาตรประมาณคาประกอบกับการพรรณนาคุณภาพ กลาวคือ แทนที่จะใชตัวเลข เชน  5-4-3-2-1 หรือ 3-2-1 ฯลฯ (โดยมีการแปลความหมายกํากับดวย) อยางลอยๆ ก็มีการเพิ่มขอมูลรายละเอียดวาคะแนนที่ไดลดหลั่นลงไปมีความบกพรอง ที่บงชี้เปนขอมูลเชิง คุณภาพวาเปนอยางไร ขอมูลเชิงคุณภาพที่ผนวกอยูกับขอมูลเชิงปริมาณ ในการใหคะแนนแบบรูบริคนี้ มีประโยชนในการใหขอมูลปอนกลับแกผูถูกประเมิน ซึ่งเปน การตอบสนองหลักการของการประเมินผลเพื่อการปรับปรุง  นอกเหนือจากการใหคะแนนดวยวิธีตางๆดังกลาวแลว ในการประเมินผลการเรียนรูตามแนวการปฏิรูปการศึกษา ผูสอนอาจใชขอมูลในรูปแบบอื่นๆ เชน ขอมูลจากบันทึกตางๆ รวมทั้งหลักฐานหรือรองรอยจากการเรียนอื่นๆ ซึ่งเมื่อตองการประเมินคุณคาก็สามารถแปล เปนคะแนนไดในภายหลัง


12.5 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

 ทิศนา แขมมณี (2550:31-32) กล่าวไว้ว่า ปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
1.ลักษณะแข่งขันกัน ในการศึกษาเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่น เพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่องหรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่างๆ
2.ลักษณะต่างคนต่างเรียน คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบดูแลตนเองให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น
3.ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้สมาชิกคนอื่นเรียนรู้ด้วย        
การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว

13. วิธีดำเนินการวิจัย
        13.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
นิสิตสาขารัฐศาสตร์ ชั้นปีที่1  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
จำนวน 60 คน
        13.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                13.2.1 แผนการสอน(มคอ.3)ที่สอดแทรกการใช้การจัดการเรียนรู้ KWL ร่วมกับ แนวคิด Flipped Classroom
                13.2.2 วีดีโอเรื่องวิกฤติต้มยำกุ้งที่ผู้สอนและนิสิตร่วมกันคัดเลือก และให้นิสิตนำกลับไปเรียนรู้ด้วยตนเองที่บ้าน
13.2.3 ตาราง KWL สำหรับให้นิสิตบันทึกตาม
ขั้นตอนการเรียนรู้ โดยถามผู้เรียนว่ารู้อะไรบ้างจากวีดีโอดังกล่าว(K) และต้องการเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม(W) แล้วผู้สอนนำเนื้อหาที่เป็นทฤษฎีที่เตรียมมานำเสนอและให้นิสิตบันทึกว่าเกิดการเรียนรู้อะไร(L)
ตาราง KWL
สิ่งที่ฉันรู้แล้ว (What I Already Know)
สิ่งที่ฉันอยากจะรู้ (What I Want to Know)
สิ่งที่ฉันเรียนรู้ (What I Have Learned)






                   13.2.4 แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ของนิสิตหลังจากเรียนรู้ผ่านวีดีโอเรียบร้อยแล้ว เป็นข้อสอบปรนัยจำนวน 30 ข้อ คิดเป็นคะแนน 30 คะแนน โดยนำแบบทดสอบให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
                   13.2.5 แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนิสิตหลังจากใช้ เทคนิค KWL ร่วมกับ แนวคิด Flipped Classroom
                  

        13.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล   
ข้อมูลปฐมภูมินิสิตสาขารัฐศาสตร์ ชั้นปีที่1  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
กำแพงแสน
        13.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
                หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ของแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนิสิต 

โดยเกณฑ์ที่กำหนดผลการเรียนรู้ของนิสิต คือ นิสิตที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom จะมีความรู้ความเข้าใจในปัญหาเศรษฐกิจในระดับดีขึ้นไป

ตารางวัดการเรียนรู้ของนิสิต

ช่วงคะแนน
เปอร์เซ็นต์ (%)
ระดับความรู้ความเข้าใจในปัญหาเศรษฐกิจ
26-30
21-25
16-20
ต่ำกว่า 15
80 ขึ้นไป
66-80
56-65
น้อยกว่า 50
ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง


แบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ จัดเป็นการวัดข้อมูลประเภทอันตรภาคชั้น (Interval Scale) ประกอบด้วย

ระดับความพึงพอใจ                            เกณฑ์การให้คะแนน
                   มากที่สุด                                                5
                   มาก                                                     4
                   ปานกลาง                                               3
                   น้อย                                                     2
                   น้อยที่สุด                                                1

แสดงเกณฑ์การแปลความหมายจากคะแนนเฉลี่ย (Best Johnw, 1981)

                   คะแนนเฉลี่ย                      ระดับความพึงพอใจ
                4.50-5.00                           ความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
                   3.50-4.49                           ความพึงพอใจในระดับมาก
                   2.50-3.49                           ความพึงพอใจในระดับปานกลาง
                   1.50-2.49                           ความพึงพอใจในระดับน้อย
                   1.00-1.49                           ความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด
14. ระยะเวลาและแผนการดำเนินการวิจัย

เดือน
ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย
ผลการดำเนินงานที่ได้
เดือนที่ 1-4
ค้นคว้าหาข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ วีดีโอที่เกี่ยวข้อง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วีดีโอที่จะนำมาใช้ในงานวิจัย
และกระบวนการวิจัย
เดือนที่ 5-6
แทรกการใช้เทคนิคแบบ KWL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom ในแผนการสอน
แผนการสอนที่ได้สอดแทรกเทคนิคแบบ KWL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom

สร้างแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ และให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ
เดือนที่ 7
ปรับปรุงตามผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่สมบูรณ์แล้ว
เดือนที่ 8
นิสิตและผู้สอนคัดเลือกวีดีโอที่จะนำมาใช้ในงานวิจัยร่วมกัน โดยคัดเลือกเรื่องที่เหมาะสมจำนวน 2-3 เรื่อง
การทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างสำหรับแนวคิดแนวคิดแบบ Flipped Classroom

นิสิตดูวีดีโอที่ร่วมกันคัดเลือกมาพร้อมทั้งให้ตารางKWLกลับไปศึกษาที่บ้าน
นิสิตได้เรียนรู้เรื่องวิกฤติต้มยำกุ้งจากวีดีโอที่คัดเลือกมาร่วมกัน

นิสิตทำกิจกรรมกลุ่มโดยทำ KWLในห้องเรียนร่วมกัน
นิสิตร่วมกันคิดและทำความเข้าใจในวีดีโอร่วมกันภายในกลุ่ม

ผู้สอนอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในเรื่องวิกฤติต้มยำกุ้งโดยใช้เพาเวอร์พอยท์
นิสิตได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิกฤติต้มยำกุ้งจากเพาเวอร์พอยท์

นิสิตทำกิจกรรมกลุ่มโดยทำ KWLในห้องเรียนร่วมกัน
นิสิตร่วมกันคิดและทำความเข้าใจเรื่องวิกฤติต้มยำกุ้งภายในกลุ่มร่วมกัน
เดือนที่ 9
ใช้แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้และแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างหลังจากการใช้เทคนิคแบบ KWL ร่วมกับแนวคิด Flipped Classroom เรียบร้อยแล้ว
ทราบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจหลังจากใช้นวัตกรรมแล้ว
เดือนที่ 10-12
เขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน
เล่มวิจัยในชั้นเรียน

15. งบประมาณที่ใช้ในการวิจัย
จำนวนเงิน  8,000 บาท

16. เอกสารอ้างอิง
มยุรี  อรรฆยมาศ .2557.  เทคนิคการเรียนรู้แบบ K-W-L (K-W-L Learning Technique)ดาวน์โหลด http://www.gotoknow.org/posts/362736
ทิศนา แขมมณี .2548. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดาวน์โหลดhttp://suanpalm3.kmutnb.ac.th/kmit/km_detail.asp?id=37&type=1)
รุ่งนภา นุตราวงศ์.2556.กลับด้านชั้นเรียน.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.2553.คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้.
ทิศนา แขมมณี .2550.ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ.http://mathmath2.blogspot.com/2012/09/135-theory-of-cooperative-or.html
วิศวะ  จลแก้ว .2556.แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ
ดาวน์โหลด http://nuwissa.blogspot.com/





4 ความคิดเห็น:

เวลา 27 ตุลาคม 2560 เวลา 19:32 , Blogger ekkaraj กล่าวว่า...

สนใจบทความครับ

 
เวลา 7 ตุลาคม 2562 เวลา 01:01 , Blogger Sattakingin กล่าวว่า...

They often prefer running water to play bazaar water sitting out in a bowl. If you suspect your kitty isn't drinking enough, consider investing satta king in a cat fountain to avoid health problems.

 
เวลา 31 มกราคม 2565 เวลา 23:39 , Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Lucky Club Casino Site | Online Casino Games | Lucky Club
Join us 카지노사이트luckclub at Lucky Club for an exciting online casino experience unlike any other! Sign up for a VIP Club account and claim your welcome bonus and get

 
เวลา 4 มีนาคม 2565 เวลา 12:11 , Blogger iliasnaftzger กล่าวว่า...

Borgata Hotel Casino & Spa: Jobs, Careers, & Reviews | DrmCD
Borgata 충청남도 출장샵 Hotel Casino 경주 출장안마 & Spa 동두천 출장샵 offers more 파주 출장샵 than 1,000 of the hottest new and renovated rooms in Atlantic City. 구미 출장안마

 

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก